เมนู

2. อารัมมณปัจจัย


[100] 1. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจต-
สิก ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก ปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก
ย่อมเกิดขึ้น.
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ 2)
จิต ปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก ย่อมเกิดขึ้น.
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ 3)
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และจิต ปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก
ย่อมเกิดขึ้น.
4. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่
เจตสิก ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระอริยะทั้งหลาย ออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณาผล พิจารณา
นิพพาน.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล, แก่
อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่เจตสิก
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภ
จักษุเป็นต้นนั้น จิต ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ, ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.

บุคคลรู้ซึ่งจิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ซึ่งเป็นธรรมที่ไม่ใช่
เจตสิก ด้วยเจโตปริยญาณ.
อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ อาภิญจัญญายตนะ ฯลฯ.
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ, แก่เจโต-
ปริยญาณ, แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ, แก่ยถากัมมูปคญาณ, แก่อนาคตังสญาณ,
แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
5. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็น
เจตสิก ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระอริยะทั้งหลาย ออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณานิพพาน มี
คำอธิบายเหมือนกับข้อความตามบาลีข้างต้น.
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุขันธ์ที่ไม่ใช่เจตสิก โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ, ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
บุคคลรู้ซึ่งขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่เจตสิก ด้วยเจโตปริยญาณ.
อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญา-
นาสัญญายตนะ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ, แก่เจโต-
ปริยญาณ, แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ, แก่ยถากัมมูปคญาณ, แก่อนาคตังสญาณ,
แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

6. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็น
เจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัยจัย

คือ พระอริยะทั้งหลาย ออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณานิพพาน มีคำ
อธิบายเหมือนกับข้อความตามบาลีข้างต้น.
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่เจตสิก
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภ
จักษุเป็นต้นนั้น จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ, แก่เจโต-
ปริยญาณ, แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ, แก่ยถากัมมูปคญาณ, แก่อนาคตังสญาณ,
แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
7. ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก
เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก ปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก
และจิต ย่อมเกิดขึ้น.
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ 8)
จิต ปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และจิต ย่อมเกิดขึ้น.
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ 9)

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก และจิต ปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก
และจิต ย่อมเกิดขึ้น.

3. อธิปติปัจจัย


[101] 1. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก
เจตสิก ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นเจตสิก ทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิกให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย.
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ 2)
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
จิต ทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว
ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่